อินโดจีนของฝรั่งเศส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
Indochine française Union Indochinoise (1946) | |||||||||||||||||||||||
อาณานิคมฝรั่งเศส | |||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||
Flag | |||||||||||||||||||||||
ที่ตั้งของอินโดจีนของฝรั่งเศส | |||||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | ไซ่ง่อน (จนถึงค.ศ. 1902) ฮานอย (ตั้งแต่ค.ศ. 1902) | ||||||||||||||||||||||
ภาษา | ฝรั่งเศส, เวียดนาม, เขมร, ลาว | ||||||||||||||||||||||
โครงสร้างทางการเมือง | อาณานิคมฝรั่งเศส | ||||||||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | จักรวรรดินิยมใหม่ | ||||||||||||||||||||||
- สถาปนา | 17 ตุลาคม ค.ศ. 1887 ค.ศ. 1887 | ||||||||||||||||||||||
- ผนวกลาว | 3 ตุลาคม ค.ศ. 1893 | ||||||||||||||||||||||
- เวียดนามเหนือประกาศเอกราช | 2 กันยายน ค.ศ. 1945 | ||||||||||||||||||||||
- เวียดนามใต้ประกาศเอกราช | 14 มิถุนายน ค.ศ. 1949 | ||||||||||||||||||||||
- ลาวประกาศเอกราช | 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1949 | ||||||||||||||||||||||
- กัมพูชาประกาศเอกราช | 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1953 1953 | ||||||||||||||||||||||
ขนาดพื้นที่ | |||||||||||||||||||||||
- 1935 | 750,000 กม.2 (289,577 ตร. ไมล์) | ||||||||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||||||||
- 1935 ประเมิน | 21,599,582 | ||||||||||||||||||||||
ความหนาแน่น | 28.8 /km2 (74.6 /sq mi) | ||||||||||||||||||||||
เงินตรา | ปียัสทร์อินโดจีนของฝรั่งเศส | ||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||
เนื้อหา
การแทรกแซงครั้งแรกของฝรั่งเศส
ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและฝรั่งเศสเริ่มต้นขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมีคณะบาทหลวงเยซูอิตซึ่งนำโดยบาทหลวงอาแล็กซ็องดร์ เดอ โรด เข้ามาเผยแผ่ศาสนา ในช่วงเวลาดังกล่าว เวียดนามเพิ่งจะเข้าครองครองดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรจามปามาได้ไม่นานนัก[1] ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับยุโรปจำกัดอยู่แค่เรื่องการค้าเท่านั้น ในปี ค.ศ. 1787 ปีโญ เดอ เบแอนได้ร้องเรียนรัฐบาลฝรั่งเศสและจัดตั้งอาสาสมัครทหารฝรั่งเศสเพื่อช่วยเหลือเหงียน อั๊ญ (ซึ่งภายหลังคือจักรพรรดิยาลอง) ให้ได้ดินแดนที่สูญเสียให้กับราชวงศ์เต็ยเซินกลับคืนมา ปีโญเสียชีวิตในเวียดนาม แต่กองทหารของเขายังคงต่อสู้จนถึงปี ค.ศ. 1802 ฝรั่งเศสเข้าไปเกี่ยวของกับเวียดนามอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาทิเช่น การปกป้องกิจการของสมาคมพันธกิจต่างประเทศแห่งปารีส ซึ่งเป็นองค์กรทางศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิก การกระทำดังกล่าวทำให้ราชวงศ์เหงียนรู้สึกว่าคณะมิชชันนารีที่เข้ามานั้นเป็นการคุกคามทางการเมืองในปี ค.ศ. 1858 ราชวงศ์เหงียนได้รวบรวมดินแดนทั้งหมดไว้ได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งทำได้สำเร็จโดยการบุกโจมตีดานังของ พลเรือเอกชาร์ล รีโกล เดอ เฌอนูยี ซึ่งทำให้คณะมิชชินนารีไม่ถูกขับไล่ ในเดือนกันยายนกองทัพผสมระหว่างฝรั่งเศสและชาวพื้นเมืองในอาณานิคมของสเปน[2]ได้เข้าโจมตีท่าเรือตูรานที่ดานังและยึดเมืองสำเร็จในที่สุด
เดอ เฌอนูยีได้ล่องเรือลงไปทางใต้ และได้เข้าครอบครองไซ่ง่อนเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1859 ต่อมารัฐบาลเวียดนามถูกบังคับให้ยกเบียนหฮว่า ซาดิ่ญ และดิ่ญเตื่องให้ กับฝรั่งเศส เดอ เฌอนูยีถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกถอดออกจากหน้าที่ในเดือนพศจิกายน ค.ศ. 1859 เพราะว่าเขาได้รับคำสั่งให้ปกป้องศาสนาคริสต์ ไม่ใช่เพื่อขยายอาณาเขต อย่างไรก็ดี นโยบายของฝรั่งเศสในช่วงเวลาสี่ปีถัดมากลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ดินแดนของฝรั่งเศสในเวียดนามค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปี ค.ศ. 1862 ฝรั่งเศสได้รับสัมปทานท่าเรือสามแห่งในอันนัม ตังเกี๋ย และโคชินไชนาจากจักรพรรดิตึ ดึ๊ก และต่อมาในปี ค.ศ. 1864 ฝรั่งเศสก็ประกาศดินแดนของฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1867 จังหวัดเจิวด๊ก (โชฎก) ห่าเตียน และหวิญล็องก็ตกเป็นของฝรั่งเศส
ในปี ค.ศ. 1863 สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ได้ขอให้กัมพูชาเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส และในปี ค.ศ. 1867 สยามได้ประกาศยกเลิกอำนาจเหนือกัมพูชาและยอมรับสถานะรัฐในอารักขาฝรั่งเศสของกัมพูชา โดยแลกกับจังหวัดพระตะบองและเสียมราฐ
การสถาปนาอินโดจีนของฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสได้เข้าควบคุมเวียดนามเหนือหลังจากได้รับชัยชนะในสงครามจีน-ฝรั่งเศสระหว่างปี ค.ศ. 1884 - 1885 ฝรั่งเศสได้รวมเอาดินแดนทั้งสี่แห่งเข้าไว้ด้วยกันเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศสเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1887 ส่วนลาวนั้นถูกผนวกเข้าภายหลังสงครามฝรั่งเศส-สยามโดยนิตินัย ฝรั่งเศสได้มอบอำนาจให้กับผู้ปกครองท้องถิ่นในรัฐในอารักขาทั้งสี่ ได้แก่ จักรพรรดิเวียดนาม กษัตริย์กัมพูชา และเจ้ามหาชีวิตลาว แต่ในความเป็นจริงแล้ว อำนาจอยู่กับข้าหลวงใหญ่มากกว่าบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่น โดยผู้ปกครองท้องถิ่นเป็นเหมือนหุ่นเชิดเท่านั้น ฝรั่งเศสปกครองอินโดจีนอยู่จนถึงปี ค.ศ. 1954
การก่อจลาจลในเวียดนาม
กองทหารฝรั่งเศสขึ้นฝั่งเวียดนามในปี ค.ศ 1858 และในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1880 ก็ได้แผ่ขยายเข้าไปในภาคเหนือของเวียดนาม ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1885 - 1895 ฟาน ดิ่ญ ฝุ่งได้นำการก่อจลาจลต่อต้านฝรั่งเศส แนวคิดชาตินิยมได้รุนแรงขึ้นในเวียดนาม โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและหลังจากนั้นเป็นต้นมา แต่การลุกฮือและความพยายามทั้งหมดก็ไม่ได้ทำให้เกิดอะไรขึ้นสงครามฝรั่งเศส-สยาม
- ดูบทความหลักที่ วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112
การรุกล้ำมากขึ้นในสยาม (ค.ศ. 1904-1907)
ฝรั่งเศสได้กดดันสยามอย่างต่อเนื่อง ในปี ค.ศ. 1906-1907 ได้เกิดวิกฤตขึ้นอีกครั้ง โดยครั้งนี้ สยามต้องยอมรับว่าดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้ามเมืองหลวงพระบางและพื้นที่ทางตะวันตกของแขวงจำปาศักดิ์ในปัจจุบันเป็นของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสยังยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน และเพื่อที่จะได้จันทบุรีกลับมา สยามต้องยอมยกตราดให้เป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีน ตราดกลับมาเป็นของไทยอีกครั้งในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1906 โดยต้องแลกกับดินแดนมณฑลบูรพา ได้แก่ พระตะบอง เสียมราฐ และ ศรีโสภณในคริสต์ทศวรรษ 1930 สยามได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสส่งมอบดินแดนที่เคยเป็นของสยามกลับคืน และในปี ค.ศ. 1938 ฝรั่งเศสก็ได้ตกลงที่จะส่งมอบนครวัด นครธม เสียมราฐ แสนปาง และบริเวณเกี่ยวเนื่องแก่สยาม ในขณะนั้น สยามก็เข้าครอบครองดินแดนที่ได้รับคืน โดยคาดหวังในสนธิสัญญาที่กำลังจะมีขึ้น ผู้ลงนามของทั้งสองประเทศได้เดินทางไปยังโตเกียวเพื่อลงนามในสนธิสัญญาส่งมอบดินแดนคืน
พรรคชาตินิยมเวียดนาม
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1930 ทหารเวียดนามได้ลุกฮือขึ้นในกองทหารรักษาการแห่งเอียนบ๊าย การจลาจลแห่งเอียนบ๊ายได้รับการสนับสนุนจากพรรคชาตินิยมเวียดนาม (Việt Nam Quốc Dân Đảng) การปะทะกันครั้งนี้เป็นการก่อความไม่สงบครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้น ตั้งแต่การก่อจลาจลของฟาน ดิ่ญ ฝุ่ง และขบวนการจักรพรรดินิยมเกิ่นเวืองในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จุดประสงค์ของการปฏิวัติคือเพื่อจะกระตุ้นให้การลุกฮือแผ่ขยายขึ้นในหมู่ ประชาชนทั่วไปที่มีเป้าหมายที่จะล้มอำนาจเจ้าอาณานิคม ก่อนหน้านี้ พรรคชาตินิยมเวียดนามได้พยายามที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมลับที่จะบ่อน ทำลายอำนาจการปกครองของฝรั่งเศส แต่ก็ทำให้ฝรั่งเศสจับตามองการกระทำดังกล่าวและทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะ เกิดการปะทะกับในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในเวียดนามเหนือสงครามฝรั่งเศส-ไทย (ค.ศ. 1940-1941)
- ดูบทความหลักที่ กรณีพิพาทอินโดจีน
สงครามโลกครั้งที่สอง
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสเขตวีชีซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี ได้อนุญาตให้ญี่ปุ่นเข้ามาในตังเกี๋ย เพื่อให้ญี่ปุ่นสามารถยกทัพเข้าไปในจีนได้สะดวกขึ้น เหตุการณ์นี้ทำให้ไทยถือโอกาสอ้างสิทธิ์ในดินแดนที่เคยเสียไป ทำให้เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสและไทยระหว่างเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1940 - 28 มกราคม ค.ศ. 1941 ในเวลาต่อมาสงครามอินโดจีน
อนุสัญญาเจนีวา
- ดูบทความหลักที่ อนุสัญญาเจนีวา
- อนุสัญญาฉบับที่ 1 ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยในกองทัพที่อยู่ในสนามรบให้มี สภาพดีขึ้น
- อนุสัญญาฉบับที่ 2 ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยและลูกเรือที่อับปางของกอง กำลังรบในทะเล ให้มีสภาพดีขึ้น
- อนุสัญญาฉบับที่ 3 ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก
- อนุสัญญาฉบับที่ 4 ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองบุคคลพลเรือนในระหว่างสงคราม หรือการขัดแย้งทางกำลังทหารประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญานี้ ดังนี้
- การรักษาพยาบาลแก่เพื่อนและศัตรูโดยเท่าเทียมกัน
- เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เกียรติของมนุษย์ สิทธิในครอบครัว ในการนับถือศาสนาและเกียรติของสตรี
- ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ไปเยี่ยมนักโทษสงคราม และ ประชาชนที่อยู่ในค่ายกักกัน โดยพูดกับผู้ถูกกักขังอย่างไม่มีพยานร่วมรับรู้
- ห้ามการกระทำที่ไม่มีมนุษยธรรม การทรมาน การประหารชีวิต การเนรเทศ จังตัวประกัน สอบสวนหมู่การกระทำที่รุนแรงและทำลายทรัพย์สินส่วนตัวอย่างไม่ปรานี
สนธิสัญญาเจนีวา ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 12 ส.ค. ปี 2492 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 ต.ค. ปี 2493 มีเป้าหมายให้การสงเคราะห์ทหาร และพลเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม โดยประสานงานใกล้ชิดกับคณะกรรมการกาชาดสากล (ไอซีอาร์ซี)
- มาตรา 13 ในสนธิสัญญาฯ ระบุว่า : เชลยศึกต้องได้รับการดูแลอย่างมีมนุษยธรรมตลอดเวลาที่ถูกกักขัง ห้ามผู้กักขังกระทำการใดๆ ที่ผิดกฎหมาย หรือละเว้นไม่กระทำการ อันส่งผลให้เชลยศึกเสียชีวิตหรือได้รับอันตรายร้ายแรง หากกระทำจะถือว่าเป็นการละเมิดสนธิสัญญาฉบับปัจจุบันอย่างรุนแรง เฉพาะอย่างยิ่ง ต้องไม่ทำให้เชลยศึกพิการ หรือถูกใช้ทดลองยาหรือทดลองทางวิทยาศาสตร์ นอกจากเป็นการรักษาตามโรงพยาบาล การทำฟัน และการรักษาอื่นเพื่อประโยชน์ของเชลยศึก เชลยศึกต้องได้รับการปกป้องตลอดเวลา โดยเฉพาะต่อการถูกทำร้ายหรือข่มขู่ การถูกดูถูกต่อหน้าสาธารณชน และห้ามแก้แค้นเชลยศึก
- มาตรา 14 : ผู้กักขังต้องเคารพเกียรติและความเป็นมนุษย์ของเชลยศึก ผู้หญิงจะต้องได้รับการปฏิบัติโดยคำนึงถึงเพศและได้รับการรักษาพยาบาลเช่น เดียวกับผู้ชาย เชลยศึกควรมีสิทธิทำกิจกรรมตามที่พลเรือนในขณะนั้นพึงมีอย่างเต็มที่ ผู้กักขังไม่ควรจำกัดการออกกำลังกายของเชลยศึก หรือสิทธิอื่นๆ ยกเว้นขัดกับข้อกำหนดด้านการจับกุม
อ้างอิง
- Jump up ↑ Kahin, George McTurnin; Lewis, John W. (1967). The United States in Vietnam: An analysis in depth of the history of America's involvement in Vietnam. Delta Books.
- Jump up ↑ Chapuis, Oscar (1995). A History of Vietnam: From Hong Bang to Tu Duc (Google Book Search). Greenwood Publishing Group. p. 195. ISBN 0313296227.
สถานที่จริง ของจริงทำจริง โครงการทุ่งใบตอง1 จากสระแก้ว สถานที่จริงๆๆ ปาล์มเต็ม 1500 ที่ดินจริง ปัจจุบัน ของจริงทำจริง โครงการทุ่งใบตอง1 จากสระแก้ว สถานที่จริงๆๆ ปาล์มเต็ม 1500 ไร่ สวยมากไร่ สวยมาก
ตอบลบ